สถาปัตยกรรม โรโคโค (Rococo architecture)

สถาปัตยกรรม โรโคโค (Rococo architecture)

สถาปัตยกรรมโรโคโค (Rococo architecture) หรือ ศิลปะโรโคโคได้เริ่มขึ้นจากศิลปะ การออกแบบ และตกแต่งศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อช่วงปลาย ๆ รัชสมัย ที่มีการออกแบบ ตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเหล่านั้น ได้เริ่มมีความเป็นธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้ เรามักจะเห็นได้ชัด จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence)

โรโคโคมีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งานสำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหว และขี้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้

เมื่อช่วงราว ๆ ประมาณปี ค.ศ. 1730 ณ ตอนนั้น ศิลปะแบบโรโคโคมีความรุ่งเรืองมากที่สุด ในประเทศฝรั่งเศส และสถาปัตยกรรมโรโคโคนี้เริ่มเข้าไปมีบทบาท อิทธิพล ต่อศิลปะแขนงอื่น ๆ ด้วย ศิลปะโรโคโค นั้นจะยังคงรักษาลักษณะ เอกลักษณ์ บางอย่างของศิลปะบาโรกเอาไว้ แต่สิ่งที่โรโคโค จะแตกต่างกับบาโรก ก็คือ จะมีการผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบขาดความสมดุล (asymmetric)

ศิลปะแบบโรโคโคเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือ สถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศเยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปะบาโรกแบบเยอรมนีได้เป็นอย่างดี

ศิลปะโรโคโคแบบเยอรมนีนั้น จะนิยมใช้กันมาก ในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่ง ปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซีย ก็เริ่มสร้างลักษณะโรโคโคที่เป็นของตนเองที่เรียกกันว่าโรโคโคแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งทำให้มีอิทธิพล มาจากโรโคโคฝรั่งเศส และได้รับอิทธิพลจาก เนเธอร์แลนด์ 

สถาปนิกจะออกแบบ และตกแต่งภายใน ด้วยปุยเมฆ ที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วทั้งห้อง และพอถึงช่วงปลายสมัยโรโคโค ศิลปะในรูปแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างมาก ทางเหนือและทางใต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ (Francesco Borromini) และก็ได้มี กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ได้ใช้โรโคโค ที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิลส์ และซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสกานีและโรม จะไม่นิยมโรโคโค และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรก

สถาปัตยกรรมโรโคโค ที่ประเทศอังกฤษนั้น หลายๆคน จะเรียกกันว่า ศิลปะแบบฝรั่งเศส (French Art) หรือ “รสนิยมแบบฝรั่งเศส” (French Taste) สถาปัตยกรรมแบบโรโคโค จะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโคโค ที่นิยมกันมาก ก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) โดยช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์  วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค

ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ “การวิจัยเรื่องความงาม” (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิกซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก

ศิลปะโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมแบบกอธิค เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปะโรโคโคนั้น ได้มีการเสื่อมความนิยมในช่วงราว ๆ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปัญญาชน เช่น วอลแตร์ และ จาค์ส ฟรังซัวส์ บรอนเดล (Jacques-François Blondel) เริ่มประณามว่า

  ศิลปะโรโคโคเป็นศิลปะที่ฉาบฉวย เป็นศิลปะที่ทำให้คุณค่าของศิลปะโดยทั่วไปเสื่อมลง และ เป็นศิลปะที่ออกจะ “รก” 

เพราะมักจะมีลวดลายเยอะ เช่น หอย, มังกร, หญ้า, ต้นปาล์ม และ ต้นไม้ใบไม้อื่น ๆสารพัด พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปะโรโคโค ก็เริ่มมีการเสื่อมความนิยม ในประเทศฝรั่งเศส ศิลปะนีโอคลาสสิกที่ขึงขังเป็นระเบียบกว่าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นงานของจาค์ส ลุยส์ เดวิด (Jacques Louis David) และในขณะเดียวกันนั้น ที่ประเทศเยอรมนี เรียกศิลปะโรโคโคว่า Zopf und Perücke หรือเรียกสมัยนี้สั้นๆว่า “Zopfstil” ขณะที่ตามเมืองใหญ่ๆเริ่มหมดความสนใจกับศิลปะที่มากับรัฐบาลของพระเจ้านโปเลียน แห่งฝรั่งเศส

เมื่อช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1820 จนถึง ปี ค.ศ. 1870 ความสนใจทางศิลปะแบบโรโคโคก็ได้รับการฟี้นฟู ให้เกิดขึ้นมาอีกครั้ง โดยศิลปินอังกฤษ เป็นศิลปินกลุ่มแรกที่ได้หันมาช่วยกันฟี้นฟูศิลปะลักษณะนี้ และใช้คำว่า “แบบหลุยส์ที่ 14” เมื่อพูดถึงโรโคโค ศิลปะโรโคโคที่ไม่มีใครซื้อที่กันปารีสก็มาโก่งขายกันด้วยราคาแพงกันที่อังกฤษ


มาต่อกันที่การตกแต่งโรโคโคที่นิยมกันในหมู่พระราชวัง ปราสาท คฤหาสน์หรือบ้าน ผู้ดีของทางฝั่งยุโรป ที่ทั้งเก๋าและสวยหรู และเมื่อย้อนไปใน ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปะรอกโกโกนั้น ได้เริ่มมีการ เผยแพร่ขยายออกเป็นวงกว้าง และเป็นที่รู้จัก จนได้รับความนิยมและถูกนำมาถ่ายทอดผ่านงานตกแต่งภายในพระราชวัง ปราสาท และบ้านของชนชั้นสูง เพราะเป็นการตกแต่งที่มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน และต้องอาศัยความประณีตเป็นหลักการประดิดประดอยที่ทำได้ค่อนข้างยาก และจำเป็นต้องใช้ช่างปั้นบัวที่มีฝีมือเก่ง ๆ เท่านั้น งานถึงจะออกมาได้อย่างสวยงามรวมไปถึงเรื่องของงบประมาณที่ใช้ค่อนข้างสูงมาก ด้วยเหตุนี้การตกแต่งสไตล์โรโคโคจึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับบ้านคนทั่วไปที่มีฐานะตั้งแต่ยากจนไปจึนถึงปานกลาง ทั้งยังไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ภายในบ้านได้

โรโคโค คืออะไร?

สถาปัตยกรรม โรโคโค (Rococo architecture)

โรโคโคได้มีการพัฒนารูปแบบ มาจากศิลปะสไตล์บารอก (Baroque) ซึ่งคำว่า รอกโกโก มาจาก คำ Rocaille เป็นภาษาฝรั่งเศส มีความหมายว่าศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และจากภาษาอิตาลีคำว่า Barocco หรือที่เรียกว่า ศิลปะบารอกนั่นเอง

การตกแต่งสไตล์โรโคโค มักจะเล่นกับเส้นโค้งตัวซี และตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย และการม้วนต้วของใบไม้ โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนงานจิตรกรรม ประติมากรรมนั้น มักให้ความสำคัญกับรูปร่างและรูปทรงธรรมชาติ (Realistic) อีกทั้งยังมีการเลือกใช้สีรุนแรง งานสถาปัตยกรรม จะประกอบด้วย เส้นโค้งมน ที่เกิดจากการตกแต่งโครงสร้างเดิม ให้มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม ประณีต การตกแต่งสไตล์โรโคโคยังให้ความสำคัญกับการตกแต่ง การประดิดประดอยมาก ๆ จนนักวิจารณ์ศิลปะหลายคนในยุคนั้นออกมาค่อนขอดว่า 

  “โรโคโค” เป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อ และเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น

วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เขาได้เคยอธิบายเอาไว้บนหนังสือ “การวิจัยเรื่องความงาม” ว่า ศิลปะแบบโรโคโค เป็นการเน้นงาน ที่มีความอ่อนช้อย สละสลวยของลายเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญ ของศิลปะโรโคโค

องค์ประกอบที่เรามักจะเห็นได้อย่างชัดเจน ของศิลปะแบบโรโคโค ส่วนใหญ่มักจะเน้นไปที่ ความไม่สมดุล (asymmetry) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวคิดแบบใหม่ ของศิลปะแบบยุโรป ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดเดิมที่เน้นการวางองค์ประกอบที่จะต้องสมดุล เพราะการใช้ความไม่สมดุลจะทำให้ความ Contrasts ขึ้น


การตกแต่งภายในสไตล์โรโคโค

สถาปัตยกรรม โรโคโค (Rococo architecture)

การตกแต่งภายใน สไตล์โรโคโค จะเน้นไปที่ภาพรวม ทำให้ดูเป็นเอกภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในห้องทั้งผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียว จะไม่มีสิ่งใดที่นอกแบบออกมา 

การออกแบบ (design) ตกแต่ง ในสไตล์ของ โรโคโค (Rococo) มักจะประกอบด้วย เฟอร์นิเจอร์ที่มีความหรูหรา เน้นความอลังการ รูปปั้นเล็ก ๆ แบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจก (painting or mirror) ที่มีกรอบและลวดลาย รวมถึงพรมแบบแขวนผนัง (Tapestry) การตกแต่งสไตล์โรโคโค มักมีความเลิศลอย แบบหาที่ติไม่ได้ แต่ค่อนข้างจะดูมีชีวิตชีวาและร่าเริง ในทุกพื้นที่จะถูกประดับประดาด้วยปูนปั้นเป็นรูปใบไม้ ไฟ ทรงหอย และก้อนเมฆห้อยระย้า เป็นต้น

การตกแต่งสไตล์โรโคโค นอกจากจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับลูกเล่น ความสวยงามและอ่อนช้อยแล้ว ในส่วนของเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ที่นำมาตกแต่งก็โดดเด่นไม่แพ้กัน

สถาปัตยกรรมโรโคโค เป็นศิลปะ ที่มีความเรียบง่าย ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี กับงานประติมากรรม และรูปปั้นกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ เช่น รูปปั้น หรือ เครื่องกระเบื้องที่มาจาก เซเวรอ (Sèvres) ประเทศฝรั่งเศส และ ไมเซ็น (Meissen) ประเทศเยอรมนี 

อีกทั้งยังมีการประติมากรรม ที่ทำมาจากไม้และเหล็กทั้งหมด แต่สิ่งที่โรโคโค นิยมนำมาตกแต่ง คือ ตู้สารภาพบาป (Confessionals) ธรรมมาสน์ แท่นบูชา (Altar) รวมไปถึงการตกแต่งด้านหน้าของวัด (Facade)

ในส่วนของช่างสมัยโรโคโคนั้น มักจะแกะทำไม้แล้วปิดทอง วิธีนี้ ประเทศฝรั่งเศส ออร์โมลู (ormolu) ศิลปินคนสำคัญ นิยมใช้วิธีนี้ เช่น อองตวน กอเดรอ (Antoine Gaudreau) ชาร์ล เครซองท์ (Charles Cressent) ฌอง-ปีแอร์ แลทซ์ (Jean-Pierre Latz) ฟรองซัวส์ เออบอง (François Oeben) และ เบอร์นาร์ด ฟอน ริเซ็นเบิร์ก (Bernard II van Risenbergh)

นักออกแบบชาวฝรั่งเศส เช่น นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) บาร์โทโลมิว ราสเตรลิ (BartolomeoRastrelli) และฟร็องซัวส์ เดอ คูวีลีเย (François de Cuvilliés) ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลสำคัญทั้งนั้น ที่ได้มีการนำศิลปะแบบโรโคโค ไปเผยแพร่ ทำให้มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น 

โดยได้เริ่มต้นเผยแพร่ ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ทำให้พวกเขา กลายเป็นนักออกแบบ ที่ถือว่า เป็นผู้นำทางของการตกแต่งสมัยใหม่นำโดยซิมอง ฟิลิปพีนิส พอยริเย (Simon-Philippe Poirier)

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *