บ้าน ส.ว. ควรเป็นไง?
ในสังคมยุคปัจจุบันเราจะเห็นคนในสังคมหันมาดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น ผลสืบเนื่องเลยก็คือทำให้มนุษย์เราองมีอายุยืนยาวขึ้นชีวิตยืนยาวขึ้น
ทำให้มีสังคมหนึ่งที่เรียกว่า
“สังคมสูงวัย” (Aging Society)
โดยทวีปเอเชียเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์มาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน ด้วยสัดส่วนประชากรสูงวัยถึง 26% และคาดว่าจะแตะระดับ 30% ในปี 2030
ตามมาด้วยสิงคโปร์ ที่จะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยในปี 2030 สูงถึง 23% เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งติด TOP 3 ประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในเอเชีย โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนถึง 19% เลยทีเดียว
จากสถิติแห่งประเทศไทย
ปี 2548 มีประชากรผู้สูงวัย คิดเป็นร้อยละ10 ของประชากรทั้ประเทศ
ปี 2557 มีประชากรผู้สูงวัย คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้ประเทศ
คาดการณ์ว่า
ปี 2564 มีประชากรผู้สูงวัย คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้ประเทศ
ปี 2574 มีประชากรผู้สูงวัย คิดเป็นร้อยละ 28 ของประชากรทั้ประเทศ
สูงขึ้นทุกปี ทำให้หลากหลายธุรกิจ หันมาสนใจคนกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว โรงแรมร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหรต่างๆ
แม้กระทั้งธรกิที่ผมนัดเลย คือ
ธุรกิจเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
หลากหลายโครงการหมู่บ้านที่เกิดใหม่ในยุค 4.0 นี้ ให้ความสำคัญกับ การอยู่อาศัยของกลุ่ม สังคมสูงวัยมากขึ้น
คำนึงถึงความเป็นอยู่ และการพึงพาตัวเองเมื่อถึง ช่วงเวลานั้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในบ้าน
ให้ทั้งทุกวันในบ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ตัวผมเองในฐานะสาปนิก มีมุมมองสำหรับการปลูกบ้านสำรับผู้สูงวัยมาฝากครับ
สิ่งที่ผมมองเป็นอันแรกเลยคือ
ปลอดภัย
ความปลอดภัยคือหัวใจหลักสำหรับบ้านแบบนี้ เพราะด้วยความที่เจ้าของบ้านเริ่มมีอายุหรือสูงวัยนั้น
ทำให้การออกแบบบ้านประเภทนี้ต้องมีความละเอียดรอบคอบและดูเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เช่น
ไฟทางเดิน ราวจับ ทางเดินขึ้นเดินลง หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆที่ช่วยในเรื่องความปลอดภัยของ
ผู้พักอาศัย
พักผ่อน
บ้านที่สูงวัยที่ดีควรมีพื้นที่พักผ่อน ไว้สำหรับผ่อนคลายอาจจะมีพื้นที่สวน หรือ โต๊ะม้านั่ง ไว้สำหรับอ่านหนังสือ
ทำกิจกรรมต่างๆ เล็กๆน้อยเพื่อให้ผู้พักอาศัย ดูสงบร่มเย็น ไม่เครียด ผ่อนคลายกับสิ่งที่ตัวเองชอบและรัก
สะดวกสบาย
ความสะดวกสบายก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านประเภทนี้ นอกจากจะมีราวจับ ที่เน้นความปลอดภัยของผู้ใช้งานแล้ว
ความสะดวกสบายอื่นๆ เช่น ลิฟท์ ขึ้น-ลง บันไดสำหรับคนสูงอายุ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกับบ้านประเภทนี้เช่นกัน
เพราะนอกจากจะได้ความปลอดภัยและสะดวกสบายแล้ว ลิฟท์ ประเภทนี้ยังง่ายต่อการใช้งานคนเดียวอีกด้วย
มีชีวิต ชีวา (ไม่เหงา) และ อบอุ่น
บ้านที่มีชีวิต ชีวา อาจจะมีพื้นที่สำหรับทำสิ่งที่ตัวเองชอบหรือรัก อาจใช้พื้นทีหลังบ้านใช้สำหรับ รวมครอบครัว
หรือจัดงานปาร์ตี้ ในครอบเล็กๆอย่างสนุกสนาน นอกจากมีบ้านที่เหมาะสมแล้ว ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็เป็นสิ่งจำเป็นมากเช่นกัน
ที่จะทำให้บ้านดูมีชีวิต ชีวา ไม่โดดเดี่ยว ไม่เหงา และมีความสนุกสนาน อบอุ่น สำหรับผู้สูงอายุ
มีสัตว์เลี้ยงในบ้าน
การมีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน นอกจากจะเป็นการเฝ้าระวังแล้ว ยังจะเป็นเพื่อนที่ดีสำหรับผู้สูงวัยอีกด้วย เพราะจะทำให้ผู้สูงวัยผ่อนคลาย
ไม่เหงา ทำให้มีความจรรโลงใจ ไม่รู้สึกว่าโดดเดี่ยว ทำให้ไม่เหงาอีกด้วย
พื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย
การมีสระว่ายน้ำเล็กๆหรือพื้นที่เล็กๆสำหรับยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกายในยามเช้าหรือเย็น เพื่อให้ผู้สูงอายุ ใช้เวลาทำให้ตัวเองผ่อนคลาย
และแข็งแรงก็เป็นสิ่งที่ดีสำหรับบ้านสูงวัย เพราะนอกจากร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้นอนหลับง่ายขึ้นเช่นกัน