คิดอยากจะเป็น สถาปนิก คุณมีครบ 12 ข้อนี้หรือยัง
คิดอยากจะจ้างสถาปนิกทำงานให้
เค้ามี…..ครบ 12 ข้อนี้รึยัง ………?????
เคยมีคนมาบอกคุณมั้ยครับว่าจะเป็น สถาปนิก ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง หรือในมุมมองของลูกค้า เคยมีใครมาบอกคุูณมั้ยครับว่าการที่คุณจะหา สถาปนิก ออกแบบบ้าน อาคาร ต่างๆ เขาความมีคุณสมบัติอะไร
วันนี้ผมเองไม่ได้อ้างอิงทฤษฎีตายตัวอะไรครับ เพียงแต่รวบรวมจากประสบการณ์ของผม
ตลอดระเวลาการทำงาน เกือบ 2 0ปี ในอาชีพสถาปนิก ว่าสถาปนิกที่ดี ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง
“12 ต้อง หากคุณเป็น สถาปนิก”
—– i am Architect —–
1)ต้องตรงเวลา คนเก่งแต่ไม่ใส่นาฬิกา ตายหมดแล้วครับ…
การตรงต่อเวลาไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหนผมว่าก็ควรตรงต่อเวลานะครับ
ไม่เฉพาะอาชีพสถาปนิกอย่างเดียว ผมเองเป็นคนที่เมื่อนัดกับลูกค้าครั้งใดผมจะมาก่อนเวลานัดเสมอ ไม่ใช่เพื่อผมต้องการแสดงความตรงต่อเวลาครับ แต่นั้นหมายถึงควาใส่ใจที่ผมมีต่องานของลูกค้าครับ
2)ต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดี
ศึกษาความต้องการลูกค้า แสดงความคิดเห็นให้เค้าตัดสินใจ….
หลายสิ่งหลายอย่างของงานออกแบบ ที่เจ้าของงานไม่รู้ มุมมองการออกแบบ หรือแม้กระทั้ง เรื่องวัสดุอุปกรณ์ ที่เจ้าของงานมักจะมองแค่ความสวยงาม แต่ในมุมของสถาปนิก มันมากกว่าความสวยงาม นี่แหละครับที่คุณต้องให้คำแนะนำให้คำปรึกษา ในความเหมาะสมต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในงานของลูกค้า สำหรับผมแล้ว ผมไม่เพียงมองแค่เรื่องของการออกแบบให้เหมาะสมเท่านั้นครับ ผมมองไปถึงจุดขาย หรือที่เรียกว่าความแตกต่างครับ ไม่เหมือนใคร ยิ่งถ้าเป็นการออกแบบเชิงพาณิชย์แล้ว ผมมักจะให้ฝ่ายการตลาดของผมมาชี้แนะมุมมองด้าน Marketing เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในงานให้มากที่สุด
3)ต้องวางแผนการก่อสร้างได้ “บ้านเค้าไม่ใช่บ้านเรา”
สถาปนิกคือนักประสาน 10 ทิศ…..ดังนั้นต้องรู้ขั้นตอนตั้งแต่งานเริ่มจนจบ….
เมื่อสถาปนิกสามารถที่จะออกแบบงานออกมาได้แล้ว ไม่ได้จบเพียงแค่นั้น คุณยังต้องเป็นนักประสานงานที่ดีที่คอยประสานงาน ระหว่างการก่อสร้างได้ เพื่อให้งานที่่อยู่ในแผ่นกระดาษของเราออกมาเป็นชิ้นงานจริงให้สมบูรณ์แบบที่สุด สถาปนิกจึงเป็นบุคคลแรกที่เจ้าของงานจะต้องคุยขอคำแนะนำ เรื่องการก่อสร้างและงานวิศวกร เมื่อเริ่มงานตกแต่งก็ต้องเป็ยสถาปนิกอีกแระครับที่ต้องคุยกับมัณฑณากร จนไปถึงการประสานงานเรื่องวัสดุในการใช้งาน
4)ต้องเข้าใจงานออกแบบภายใน
โคตรสำคัญ เพราะคนอยู่ในบ้านไม่ได้อยู่ในกล่องจริงไม๊ครับ?…..
ภายนอกสวยงามแต่ภายในล้มไม่เป็นท่าก็คงจะไม่ใช่ความประสบผลสำเร็จของ การออกแบบว่ามั้ยครับ แน่นอนมากที่สุดที่สถาปนิกคำนึงในการออกแบบ ให้ภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความสวยงาม และอีกหลายๆอย่าง จุดนี้แระครับที่ทำให้ผมเองเลือกทำงานแบบ Architect in Interior หมายความว่า ในขณะที่ผมออกแบบสถาปัตยกรรม ผมก็จะออกแบบภายในไปด้วย
5)ต้องมีประสบการณ์
ทุกอาชีพต้องการคำนี้ที่สุด….
อันนี้ก็สำคัญครับ เห็นมากก็รู้มาก ประสบการณ์มาก ก็สามารถเลิอกหยิบมาใช้งานได้เยอะ สถาปนิกจึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะประสบการณ์ความชอบและรสนิยม เพราะจริงๆแล้วสถาปนิกไม่ได้ทำงานช่าง แต่สถาปนิกทำงานในการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้อยู่อาศัย มั่นหาประสบการณ์และการเรี่ยนรู้สิ่งใหม่นะครับ นอกจากประสบการณ์ด้านชีวิตแล้ว ประสบการณ์ในการทำงานก็สำคัญครับ สถาปนิกที่ดีต้องสามารถออกแบบงานได้หลายรูปแบบ หลายๆลักษณะงาน ครับ
6)ต้องเข้าใจงานระบบต่างๆ
อาคาร 1 หลัง มีระบบไฟฟ้า, สุขาภิบาล, เครื่องกล มาเกี่ยวข้องมากมาย นั่นคือสิ่งที่สถาปนิกต้องรู้ครับ…..
ไม่ใช่แค่ออกแบบอาคารสวย ดูแปลกตาแล้วจะเรี่ยกว่าออกแบบดีนะครับ อย่างที่ผมเกริ่นไว้ข้างต้น อาคาร 1หลัง มีระบบต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า 1ระบบแน่นอนและก็เป็น สิ่งที่สถาปนิกต้องรู้ เพื่อวางแผนงานระบบต่างในแบบก่อสร้าง ไม่ใช่ออกแบบบ้านสวยมาก แต่ระบบไฟฟ้าในบ้ายยุ่งวุ่นวายสบสนในการใช้งาน หรือระบบปะปามารื้อทำใหม่หลังจากก่อสร้างเสร็จ
7)ต้องรู้จักวัสดุเยอะๆ
ข้อดี, ข้อเสีย, วิธีการติดตั้ง, ราคาโดยประมาณ ไม่จำเป็นต้องใช้ของแพงเสมอไป รู้จักใช้วัสดุ
ผสมผสาน แล้วออกมาดดูดี ตรงประโยชน์ใช้สอยนั่นคือ “ความคุ้มค่า” เมื่อเทคโนโลยีก้่วไปข้งหน้าอย่างต่อเนื่องเมื่อผู้พัฒนาวัสดุไม่หยุดนิ่ง สถาปนิกก็ไม่ควรหยุดนิ่งครับ ต้องคอยอัพเดจอยู่เสมอ
8)ต้องมีจิตอาสา “เติมเต็มสังคม”
มุมมองการออกแบบที่ให้ประโยชน์กับสังคมเป็น
เรื่องที่สถาปนิก ต้องมี เพราะเราคือ
“นักออกแบบเมือง”
งานของสถาปนิกไม่ใช่เพียงการออกแบบอาคารเพื่อใครบางคนครับ แต่ผลงานที่ถูกสร้างขึ้นต่อไป จะเป็นตัวกำหนดถึงพฤติกรรมของผู้ใช้อาคารได้เลย ดังนั้นบางเรื่องที่เป็นประโยชน์กับสังคมส่วนรวมเมื่อมีโอกาสให้วิชาชีพสถาปนิก เข้าไปช่วยเหลือได้ได้ก็ควรทำ ด้วยคว่มเต็มใจ เช่น ช่วยออกแบบสวนสาธารณะของหมู่บ้าน ออกแบบสีอาคารของโรงเรียน และยังมีอีกมากมายที่สถาปนิกช่วยได้จริงมั้ลยะครับ
9)ต้องคิดถึงคนชรา & คนพิการ
“วันหนึ่งสถาปนิกเองก็ต้องแก่เหมือนกันจริงมั้ยครับ?”
บางทีผมว่ามันเป็นความสุขใจเหมือนกันนะครับ ที่เรามีโิกาสช่วยเหบือคนกลุ่มนี้ผ่านวิชาชีพสถาปนิกด้วย
10)ต้อง (ควร) มีครอบครัวที่อบอุ่น
อาจไม่ต้องแต่ก็ควร เพราะสถาปนิกเองไงที่ต้องออก
แบบบ้าน เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ลูกค้าด้วยความ
เข้าใจจากข้างในลึกๆครับ
11)ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบสภาสถาปนิก
กฎ กติกา, มารยาท, การอยู่ร่วมกันในทุกชุมชนสำคัญมากครับ
ไม่เอาผลงานของคนอื่นมาแอบอ้าง ไม่ยกตนข่มท่าน ในขณะเดียวกัน
เหล่าสถาปนิกก็ควรเรียกร้อง สิทธิ์ในการทำงานของวิชาชีพสถาปนิกด้วย เช่นร่วมกันสร้างมาตรฐานวิชาชีพที่ดี ไม่ให้นายทุน หรือเจ้าของงานบางคนมาเอาเปรียบเรา ด้วยการกดราคาค่าออกแบบหรือหลอกให้ทำงานฟรี
12)ต้องเคยไปต่างประเทศ
มุมมองจะถูกเปิดกว้างจากการเที่ยวชม
อารยสถาปัตย์ในประเทศอื่นๆ
จริงๆแล้วทุกวิชาชีพล้วนมีความ”ต้อง”ที่เหมือนกัน
จิตสำนึกจะทำให้ทุกวิชาชีพเข้มแข็งอย่างมีคุณค่าครับ^