เปอรานากัน คำนี้มักไม่คุ้นหู นัก หากไม่ใช่คนที่สนใจประวัติศาสตร์ หรือนักออกแบบ คำนี้ก็ดูแปลกๆ
ผมจะพามารู้จักกับการ ศิลปะการาออกแบบแนวเปอรานากัน นะครับ ศิลปะแบบเปอรานากัน (Peranakan) เป็นศิลปะที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว ไม่ได้พบเห็นได้ทั่วไป เป็นรูปแบบที่เกิดจากวัฒนธรรมการผสมผสนา จาก มลายูและจีน เป็นการเอาส่วนดีของ มลายูและจีน มารวมกัน จนกลายเป็นวัฒนาธรรมใหม่เกิดขึ้น
ที่มาที่ไปของวัฒนาธรรมใหม่ ของคำว่า เปอรานากัน (มลายู: Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (อังกฤษ: Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีนกับมลายูมารวมกัน โดยชื่อ “เปอรานากัน” มีความหมายว่า “เกิดที่นี่” (ข้อมูล จากวิกิพิเดีย) ดูมีstory มีความเป็นมา
ในตัวเมืองเก่าภูเก็ต เป็นอีกที่หนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมแบบเปอรานากันให้ดูได้ชัดเจน มีการอนุรักษณ์ อารายธรรมเก่าๆไว้ให้คนรุ่นหลัง หรืออีกที่หนึ่งที่มีความเป็นเปอรานากันชัดเจน คือ “คฤหาสน์เปอรานากัน” ตั้งอยู่ที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซียนั่นเอง ที่นั้นมีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน สวยงามไปด้วยการตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์สไตล์ เปอรานากัน
บ้านเปอรานากันส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Shop house 2 ชั้น (บ้านที่เป็นร้านค้าชั้นล่างและที่พักอาศัยชั้นบน) ส่วนหน้ากว้างของบ้านจะอยู่ที่ประมาณ 5 เมตร ความลึกประมาณ 30 เมตร ภายในบ้านจะแบ่งเป็นส่วนๆ ตามประโยชน์ใช้สอย บ้านแบบเปอรานากันถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับอากาศแบบร้อนชื้นของภูมิภาคที่เป็นที่ตั้งถิ่นพำนัก โดยตรงกลางบ้าน จะเปิดโล่งไม่มีหลังคา
ทำให้มีแสงแดดส่องถึงภายในบ้าน ส่วนใหญ่ทำเป็นลานที่ระบายน้ำได้ และช่องโล่งเพื่อถ่ายเทอากาศ ส่วนภายนอกตกแต่งด้วยหน้าต่างทรงยุโรป บางหลังมีกลิ่นอายของจีนเข้ามาร่วมด้วย ข้างบนบานเปิด บ้างเป็นกระจกธรรมดา บ้างเลียนแบบกระจกสีแบบยุโรป (Stain glass)
นอกจากรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ในแบบ เปอรานากัน สไตล์ ซึ่งเป็นงานหัตถกรรม เรียกกันในยุคสมัยนี้ก็คืองาน Handmade ทำให้ ลวดลายที่เกิดขึ้น เป็นชิ้นงานเฉพาะเจาะจง ไม่ได้เป็นเฟอร์นิเจอร์อุตสาหรรม นี่ไงละครับ จุดเด่นที่น่าหลงไหล ของมักจะมีน้อยชิ้น เรียกได้ว่าถ้าเจอของเก่าแล้วต้องรีดควักเงินจ่าย เพิ่งสะสมกันเลยที่เดียวครับ (ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ)
หากย้อนเวลาไปเมื่อก่อนที่ผมจะเข้าใจการออกแบบ ผมมักจะโดนใจกับพวกของแต่งบ้าน อารมณ์ออก โคโรเนียลผสมๆจีน ตอนนั้นรู้จักแต่ Shino-protuguese แต่พอมาศึกษาเข้าจริงแล้ว ศิลปะแนวนั้นที่ผมแอบหลงไหล คือ เปอรานากันนั้นเอง
ช่วงโควิด ผมค่อนข้างอยู่ติดบ้านได้มีโอกาสมองไปรอบๆบ้านตัวเอง
เอ่อ บ้านเราก็เปอรานากันนี่หว่า……..แต่ก็เป็นเปอรานากัน แบบผสมผสานนะครับ
เปอรานากันทำให้ผมได้มุมมองการ ออกแบบใหม่ๆ
มองโลกของการออกแบบได้กว้างขึ้นไปอีก รอบรองผลงานใกล้ๆนี้ มีแนวเปอรานากันแบบผสมผสนายุโรป ตามสไลด์ สถาปนิกชิคชิค แน่นอนครับ