ผมมีประสบการณ์การใช้งาน & เลือกใช้ระบบปรับอากาศ
เรียกกันบ้านๆว่าแอร์แล้วกันครับ 555
ปัญหาของสถาปนิก(ของเจ้าของบ้านนั่นแหละ)
เรามักปวดหัวกับการหาที่วางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ของแอร์เต็มไปหมด
จนทำให้ความสวยของอาคารที่สถาปนิกบรรจงออกแบบซะสวยงาม
ต้องเต็มไปด้วยคอมแอร์ ประดุจเป็นไงหรือขี้แมลงวัน กระจายไปทั่วอาคาร
ดีหน่อยก้อออกแบบที่วางให้ซะเลย แต่ก้อจะมีผลกับหน้าตาอาคารเช่นกัน
แถมวางไกลก้อไม่ได้(ห้ามเกิน 10 เมตร) เด้วทำงานหนัก เดี๋ยวไม่เย็น เปลืองน้ำยา
อายุการใช้งานน้อยลง #ปวดกบาล 555
สมัยก่อนถ้างานที่มีงบประมาณหน่อยก้อใช้การเดินท่อ
เรียกกันว่า … แอร์ท่อ Air Duct นั่นแหละครับ
ต้องสิ้นเปลืองเงินเรื่องท่อ Duct
ที่สำคัญต้องคำนวนขนาดของท่อส่งลมด้วย #นึกถึงท่อน้ำและกัน
ไม่งั้นปลายท่อจะไม่มีลมแรงพอ
ถ้าอาคารขนาดใหญ่ก้อใช้ระบบแอร์หล่อเย็น (Cooling Tower)ไปเลย
มีทั้งท่อ ทั้งคอมขนาดเท่าห้องบนอาคาร เรื่องค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุงไม่ต้องพูดถึง “ มหาศาล ”
แถมปิด-เปิด แต่ละทีต้องทั้งตึก
^จนปัจจุบันมีเทคโนโลยีแอร์ระบบใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า …
ระบบปรับอากาศ แบบ V R Vหรือ V R F #ที่รักยิ่ง 555
มี 2 ชื่อเรียก แล้วแต่ยี่ห้อแอร์ใดจะใช้แบบไหนครับ
สำคัญคือ*****
+ไม่ต้องหาที่วางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์เต็มไปหมด เพราะรวมจุดเดียว
จะห่างจากตัวเครื่องแอร์(คอยล์เย็น)ได้เป็นร้อยเมตร เพราะ1ชุด สามารถมีแอร์ได้ถึง 60เครื่อง #woow
+ควบคุมการทำงานการจัดการพลังงานแบบเฉียวฉลาด พูดง่ายๆว่า น้ำยาที่วิ่งออกไป
หรือการทำงานเกิดการสูญเสียพลังงานน้อยที่สุด แปลว่า “ ป ร ะ ห ยั ด ” กว่าปกติ
บันทึกเป็นข้อมูลสำหรับการซ่อมบำรุงและดูแลอย่างชัดเจน
#ประหยัดเราแถมช่วยลดโลกร้อน
+มีระบบปรับอุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา ไม่ขึ้นๆลงๆ ตามการตัดของคอมเพรสเซอร์
เหมือนที่บางคนอยู่ในห้องแอร์นานๆไม่ได้ เป็นหวัด
แ ต่ …………
-ราคายังสูงกว่า ระบบปกติ 3-4 เท่า เริ่มต้นที่เคยใช้ให้บ้านลูกค้า ราคา1 ล้าน 200,000BTU
ได้แอร์ 7-8เครือง ครับ
-บ้านที่มีเครื่องแอร์เดิม (คอยล์เย็น) ใช้ระบบ VRVไม่ได้ครับ
#สำหรับผมเอง
-อาคารขนาดใหญ่ (บ้าน,ห้องจัดเลี้ยง,ห้องประชุม,อพาร์ตเมนต์ ,คอนโด ,โรงแรม
(พื้นที่ใช้สอย2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป จริงๆตามกฎหมายอาคาร
อาคารขนาดใหญ่ต้องมีวิศวกรเครื่องกลคำนวนระบบปรับอากาศให้ด้วยครับ)
หรืออาคารที่ใช้งานแบบสาธารณะ
ผมว่าควรใช้อย่างยิ่งครับลองพิจารณาเลือกใช้กันดูนะครับ
ดูเพิ่มเติม https://youtu.be/ppLC5-Uf9sY
#ขอบคุณคลิปข้อมูลของDaikin Thailand ครับ