หลังคารูปทรงกลม โค้ง มักมีให้เห็นกันในประเทศแถบตะวันออก เช่น ตรุกี รัซเซีย และในอาคารขนาดใหญ่ของประเทศแถบยุโรป มีการตกแต่งอย่างสวยงาม ทั้งภายนอกและภายใน บ่งบอกถึงอารยธรรมทางศาสนาและความมั่นคงของยุคสมัยนั้นๆ
อาคารอัญมณี อยู่ในเมือง ชิคาโก อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ที่แยกจากถนนและถนนอีแว็บแบช . Wacker Dr. หันหน้าไปทาง แม่น้ำชิคาโก สร้างขึ้นตั้งแต่ปีพ. ศ. 2468 ถึง 2470 และได้รับการออกแบบโดย โจอาคิมจีอาเวอร์ และ เฟรดเดอริกพี. ดิเกลเบิร์ก
Frederik’s Church มักเป็นที่รู้จักในชื่อ The Marble Church เป็นสถาปัตยกรรม rococo ตั้งอยู่จุดศุนย์กลางในเขต Frederiksstaden ทางทิศตะวันตกของพระราชวัง Amalienborg Palace. ถูกออกแบบดดยสถาปนิกชื่อ Nicolai Eigtved ในปี ค.ศ. 1740 Frederick’s Church เป็นโบสถ์ที่ใหญ่มาก โดมของโบสถ์ด้านบน กว้าง 31 เมตร และเชื่อกันว่า การสร้างโบสถ์แห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจมากาก St. Peter’s Basilica ในกรุงโรมThe foundation stone was set by king Frederick V on October 31 เริ่มก่อสร้างโดย กษัตริย์ Frederick V ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1749 แต่การก่อสร้างก็ช้าลง ถูกตัดลดงบประมาณในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ออกแบบได้เสียชีวิตลง ในปี ค.ศ.1754 ในปี ค.ศ. 1770 แผนการสร้างดบสถ์ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งโดย Johann Friedrich Struenseหลังถูกปล่อยร้างมานานเสร็จสิ้น ใน150ปี
เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้วย มื่อราวปี ค.ศ. 1630 อินิโก โจนส์ (Inigo Jones) สถาปนิกแบบคลาสสิกก็สร้างด้านหน้าใหม่ แต่มาถูกทำลายเสียหายไปมากระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ พร้อมกับเอกสารต่าง ๆ ของโบสถ์ด้วย “อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” มาถูกทำลายหมดระหว่างมหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน ถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ที่จะซ่อมแซมจากสิ่งที่หลงเหลือจากไฟไหม้ แต่ก็มีการตัดสินใจให้สร้างโบสถ์ใหม่ทั้งหมดเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของสมัยนั้น ที่ในปัจจุบันเรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบบาโรก
โบสถ์เซนต์แอนดรูเป็นโบสถ์ แบบบาโรกที่ สำคัญตั้งอยู่ใน Kyiv เมืองหลวงของ ยูเครน โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างปีค. ศ. 1747 และ 1754 เพื่อออกแบบโดย Bartolomeo Rastrelli สถาปนิกชาวอิตาลี บางครั้งมันถูกเรียกว่าเป็นมหาวิหาร โบสถ์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “วิหารโซเฟียแห่งอิฟ” เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ ของมรดกทางวัฒนธรรม คริสตจักรไม่มีระฆังตามตำนานเสียงของพวกเขาจะทำให้เกิดน้ำท่วมทางด้านซ้ายของเมือง โบสถ์เซนต์แอนดรูสามารถมองเห็นย่านประวัติศาสตร์ของ Podil ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาสูงชันซึ่งโบสถ์ตั้งชื่อตามปัจจุบัน – Andriyivska Hill ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสี่สถานที่สำคัญทางสถาปัตยกรรมของยูเครนซึ่งวางอยู่ในรายชื่อสมบัติของมนุษยชาติแห่งห้าทวีปโดยสังคมโลก
โบสถ์แม่พระเดรสเดิน เป็นโบสถ์โปรเตสแตนต์ของนิกายลูเทอแรน ในเมืองเดรสเดิน ประเทศเยอรมนี ในอดีต โบสถ์แห่งนี้ปรากฏการมีอยู่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 แรกเริ่มเป็นโบสถ์ของศาสนจักรโรมันคาทอลิกด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปศาสนาในช่วงศตวรรษที่ 18 ก็ได้มีการรื้อโบสถ์หลังเดิมและสร้างอาคารโบสถ์หลังใหม่ที่ใหญ่โตกว่าเดิมด้วยสถาปัตยกรรมบาโรกจนแล้วเสร็จในปีค.ศ. 1743 โดมของโบสถ์แห่งนี้ใช้หินทรายกว่า 12,000 ตันสร้าง เป็นหนึ่งในโดมโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปโดยมีขนาดใหญ่พอๆกับโดมของมหาวิหารนักบุญเปโตรในนครวาติกัน. อย่างไรก็ตาม โบสถ์แห่งนี้ได้ถูกทำลายลงในปี 1945 จากการทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง มีเพียงอนุสาวรีย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ที่ด้านหน้าของโบสถ์เท่านั้นที่เหลือรอดมาได้ โบสถ์นี้อยู่ในสภาพซากปรักหักพังเป็นเวลากว่า 50 ปีจนกระทั่งเมื่อมีการรวมประเทศเยอรมนีในปี 1994 ก็มีการสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ในปี 2005 โดยใช้งบประมาณบูรณะไปทั้งสิ้น 180 ล้านยูโรจากการระดมทุนและรับบริจาค ในปัจจุบัน โบสถ์แห่งนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเมืองเดรสเดิน ในแต่ละปีมีผู้มาเยือนโบสถ์นี้นับล้านราย
มงมาทร์ มหาวิหารพระหฤทัยแห่งมงมาทร์เป็นโบสถ์และมหาวิหารรองในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดของกรุงปารีส หรือที่เรียกกันว่า “มงมาทร์” สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่พระหฤทัยของพระเยซู ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักของกรุงปารีส โดยถือเป็นอนุสาวรีย์ของทั้งสองด้าน คือการเมือง และวัฒนธรรม ศิลาฤกษ์) ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ.1919 รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบสถ์มีความเป็นเอกลักษณ์มากในยุคนั้น โดยสถาปนิกเจ้าของโครงการ โปล อะบาดี ได้เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบโรมัน-ไบแซนไทน์ (Romano-Byzantine) ซึ่งจัดว่าแปลกใหม่ เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูบาโรก (Neo-Baroque) ดั่งที่ปรากฏที่โรงอุปรากรปาแลการ์นีเยอย่างสิ้นเชิง การออกแบบโบสถ์ได้หยิบยกสัญลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมในสมัยนั้นมาเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น ประตูทางเข้า อันประกอบไปด้วยช่องโค้ง (ซุ้มประตู) 3 ช่อง ด้านบนประดับรูปสำริด ของนักบุญแห่งประเทศฝรั่งเศส คือ นักบุญโยนออฟอาร์ค และนักบุญพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส โดยมีระฆังหนักกว่า 19 ตัน หล่อในปีค.ศ.1895ตัวโบสต์ก่อจากหินปูนประเภททราเวอร์ทีน ซึ่งมีเหมืองตั้งอยู่ที่เมือง ชาโต้-ลองดง ในเขตชานเมืองปารีส โดยคุณสมบัติพิเศษของหินชนิดนี้จะมีการคายแคลเซียมออกมา
มหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นอาสนวิหารของศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ตั้งอยู่ที่จัตุรัสแดง กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย สร้างโดยซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือซาร์อีวานจอมโหด เพื่อฉลองชัยชนะเหนือพวกมองโกลที่กรีธาทัพมาเมืองคาซาน เมื่อปี ค.ศ. 1552 ผลจากชัยชนะครั้งนี้ทำให้รัสเซียสามารถรวมชาติได้เป็นปึกแผ่น จึงสร้างมหาวิหารแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1555 เดิมทีนหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นเพียงโบสถ์ขนาดเล็กที่บรรจุศพของนักบุญวาซิลีหรือนักบุญบาซิลมหาวิหารเซนต์บาซิลมีรูปทรงที่ไม่เหมือนโบสถ์อื่น คือมีโดม 8 โดมล้อมรอบโดมที่ 9 ที่อยู่ตรงกลาง ทำให้อาคารมีรูปทรงแปดเหลี่ยม ด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบรัสเซียโบราณอันได้รับอิทธิพลมาจากไบแซนไทน์ที่เป็นโดมทรงหัวหอมกับสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่ารัสเซียนกอธิก หอคอยสูงรูปกระโจมเป็นอิทธิพลจากยุโรปตะวันตก ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงกลายเป็นหอคอยสูงรูปแท่งเทียนกำลังลุกไหม้บนปลายลำเทียน ส่งความโชติช่วงชัชวาลย์เป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ มหาวิหารนี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชื่อปอสต์นิค ยาคอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า ซาร์อีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิกผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานามอีวานผู้โหดร้าย (Ivan The Terrible)[1] บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์เบซิลขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งเก็บรักษาร่างของวลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534)