5 วิธีรับมือสถาปนิกขาดความรับผิดชอบ
จริงๆแล้วเรื่องบางเรื่องระหว่างเจ้าของงานกับสถาปนิกอาจไม่ได้เกิดจากการพูดคุยถึงข้อตกลงที่ชัดเจนก็กลัวเจ้าของงานไม่เข้าใจในเรื่องของราคา
#สถาปนิกขายความคิด #
เจ้าของงานก็กลัวสถาปนิกคิดแพงเพราะความคิดไม่ใช่รูปธรรมที่เป็นสิ่งของ มันเป็นนามธรรม
ที่ยังจับต้องไม่ได้ ซึ่งปลายทางมันอาจจะกลายเป็นเพียงอาคารธรรมดาหลังนึงหรือสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าก็ได้ บทความนี้อยากเน้นเป็น
ตัวกลางความเข้าใจของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นหลักครับ #แฟร์
1.พูดคุยแนวคิด & ทัศนคติร่วมกัน
ข้อนี้คงไม่ต้องขยายความอะไรนักหนานะครับ เลือกผลงาน เลือกบริษัท เลือกรสนิยม เลือกราคา เจ้าของงานควรได้พูดคุยแนวคิดของสถาปนิกที่เราจะเลือกใช้บริการก่อนเสมอครับ แม้กระทั่งดูการแต่งตัวและบุคลิกของสถาปนิกที่จะมาทำงานให้เรายิ่งสำคัญมากๆครับ
2.ข้อตกลงต้องชัดเจน
อาจเป็นสัญญาเต็มรูปแบบหรือไม่ก็ได้แต่ความชัดเจนไม่ใช่อยู่แค่ราคาค่าบริการวิชาชีพออกแบบเท่านั้น ยังต้องรวมไปถึงขอบเขตของการทำงานโดยหลักๆแบ่งออกเป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ
– ขั้นตอนการออกแบบ
– ขั้นตอนของการประสานงานก่อสร้างควรชัดเจนว่างานของสถาปนิกจบทั้งหมดหรือเฉพาะขั้นตอนการออกแบบ
3.ทีมบุคลากรการออกแบบต้องครบ
-ร้อยละ 90% ของงานออกแบบสถาปนิกจะเป็น Leage หรือหัวหน้าทีมของการออกแบบที่ประกอบไปด้วย ผู้ร่วมทีมคือวิศกรโครงสร้าง,วิศวกรไฟฟ้า,วิศวกรสุขาภิบาล,มัณฑณากรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายหรือขนาดของโครงการ ดังนั้น เจ้าของงานกับสถาปนิกควรตกลงกันให้ชัดเจนในเรื่องบุคลากรในการทำงานทั้งหมด
รวมไปถึงระดับขั้นของการประกอบวิชาชีพในแต่ละงานด้วยที่เป็นข้อกำหนดของ พรบ.วิชาชีพสถาปนิกและวิศวกรที่ต่างกันในแต่ละประเภทของอาคาร
4.เอกสารด้านวิชาชีพ
ในนามบุคคล ต้องมีใบประกอบวิชาชีพแบ่งเป็น 3 ระดับ
-ภาคีสถาปนิก—-ระดับต้น
-สามัญสถาปนิก—-ระดับกลาง
-วุฒิสถาปนิก—-ระดับสูง
ในนามบริษัท จดทะเบียน นิติบุคคลสถาปัตยกรรมควบคุมกับสถาปนิกรึเปล่า ซึ่งสามารถเช็ครายละเอียดผ่านเว็บไซร์ของสถาปนิก
5.งวดงานกับงวดเงินออกแบบต้องสัมพันธ์กัน
การทำงานออกแบบของสถาปนิกจะมีขั้นตอนของการทำงานเป็นลำดับไปตั้งแต่เข้าไปดู site (หน้างาน) เผื่อมาวิเเคราะห์และทำสรุปรายละเอียดความเป็นไปได้ของงานให้เจ้าของงาน(ตามความต้องการเบื้องต้นของเจ้าของ) โดยนำเสนอแนวคิด และรายละเอียดที่ควรปรับเพิ่ม-ลด เพิ่มเติมบนพื้นฐานความรู้ ของ
สถาปนิกในฐานะนักออกแบบที่ดี จนไปถึงขั้นตอนการพัฒนาแบบร่างครั้งที่ 1,2,3,4….
จนไปถึงขั้นตอนการสรุปแบบร่างก่อนจะนำไปเขียนเป็นแบบก่อสร้าง (Drawing For Construction) ซึ่งสามารถแบ่งงวดของการเบิกเงินเป็นงวดๆตามปริมาณของการทำงานเป็น % ได้ (ตามแต่ตกลงกัน)
ถ้าพูดแบบกลางคือ หมูมาไก่ไป เมื่อใดก็ตามที่เจ้าของงานมีความต้องการหยุดหรือยกเลิกการก่อสร้างก็สามารถหยุดการออกแบบได้ทันที สุดท้ายก็ไม่มีอะไรต้องติดค้างหรือโกรธเคืองกัน
#อาจารย์บอยสถาปนิก